วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

ฉกามาพจรภูมิ

           ฉกามาพจรภูมิ


          คำว่า “เทวะ” แปลว่า ผู้เล่น หมายถึงเล่นทิพยกีฬาต่าง ๆ เป็นสุขเพลิดเพลินอยู่โดยไม่บกพร่อง อีกอย่างหนึ่งแปลว่า สว่างในอบายภูมิ เป็นสุขโดยส่วนเดียว กายของเทพ เรียกว่าเป็น กายทิพย์ เป็นกายสว่าง ละเอียด ไม่ปฏิกูล เกิดเป็น “อุปปาติกะ” ซึ่งแปลว่า ลอยเกิด คือผุดเกิดขึ้น มีตัวตนใหญ่โตทีเดียว แต่เป็น อทิสสมานกาย คือ กายที่ไม่ปรากฏแก่ตาคน สัตว์นรกและเปรตอสุรกายโดยมากก็เป็นจำพวก อุปปาติกะเหมือนกัน



ในเทวภูมิบริบูรณ์ด้วยความสุข อายุก็ยืนยาว แก่ เจ็บไม่ปรากฏ ตายก็ไม่ปรากฏซาก จึงเห็นทุกข์ได้ยาก ผู้ที่เกิดเป็นเทพมักเสวยความสุขเพลิดเพลินอยู่ตลอดเวลา แต่ก็มีแสดงไว้ว่าได้เคยมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ฟังธรรมในบางครั้งบางคราว มักจะมาเฝ้าในเวลากลางคืนดึก ๆ


เรื่องเทวดานี้ มีเล่าไว้ในที่ต่าง ๆ มากแห่งด้วยกัน มีที่อยู่และชั้นต่าง ๆ กันมาก เช่น เรื่องสวรรค์ ๖ ชั้น ที่จะกล่าวต่อไปนี้คือ ชั้นจาตุมหาราชิก ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามะ ชั้นดุสิต ชั้นนิมมารวดี ชั้นปรมิม มิตวสวัตตี

          ก่อนที่จะกล่าวถึงสวรรค์ ๖ ชั้นนี้น่าจะนึกถึงลักษณะของจักรวาล คือโลกที่มีเขาสิเนรุเป็นแกนกลาง มีเขาสัตตปริภัณฑ์ คือเขาล้อมรอบ ๗ ชั้นมีสีทันดรมหาสมุทร คั่นอยู่ในระหว่าง ตั้งเป็นรูปร่างขึ้นไว้ก่อน ภูมิสวรรค์อยู่พ้นทวีปทั้งหลายซึ่งเป็นที่อยู่ของมนุษย์ เช่น ชมพูทวีป มีอินเดียเป็นศูนย์กลาง จึงอยู่พ้นป่าหิมพานต์ พ้นภูเขาหิมวันตะหรือหิมาลัย พ้นมหาสมุทรแห่งทวีปทั้งทวีป


แล้วถึงภูเขาสัตตบริภัณฑ์ ตั้งต้นแต่ภูเขาสุทัสสนะจนถึงภูเขาอัสสกัณณะ จึงเป็นอันถึงสวรรค์ชั้นที่ ๑ เพราะยอดเขาสัตตบริภัณฑ์เหล่านี้เองเป็นที่อยู่ของท้าวมหาราช ๔ องค์กับบริวาร นับเป็นสวรรค์ชั้นที่ ๑ เรียกว่า จาตุมหาราชิกแบ่งการปกครองกันดังนี้


     ด้านทิศตะวันออกของเขาสิเนรุ เป็นที่อยู่ของท้าวธตรัฏฐะ มีพวกคนธรรพ์เป็นบริวาร (ถัดออกไปเป็นปุพพวิเทหทวีป


     ด้านทิศใต้ เป็นที่อยู่ของ ท้าววิรุฬหก มีพวกุมภัณฑ์เป็นบริวาร(ถัดออกไปเป็นชมพูทวีป) พวกกุมภัณฑ์นี้ ท่านอธิบายว่าได้แก่ทานพรากษส


     ด้านทิศตะวันตกของเขาสิเนรุเป็นที่อยู่ของท้าววิรูปักข์ มีพวกนาคเป็นบริวาร (ถัดออกไปเป็นอมรโคยานทวีป)


      ด้านทิศเหนือของเขาสิเนรุเป็นที่อยู่ของท้าวกุเวร มีพวกยักษ์เป็นบริวาร (ถัดออกไปเป็นอุตตรกุรุทวีป)


      หน้าที่ของท้าวมหาราชทั้ง ๔ และบริวาร คือเป็นผู้รักษาด่านหน้าของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อป้องกันพวกอสูรซึ่งเป็นศัตรูของเทพชั้นดาวดึงส์จะยกขึ้นมาตีเอาถิ่นสวรรค์ชั้นนั้น และหรือทำหน้าที่เป็น “จตุโลกบาล” คือเป็นผู้คุ้มครองโลกทั้ง ๔ ทิศ ตามที่เชื่อถือกันมาเก่าก่อนพระพุทธศาสนา แต่เมื่อพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นแล้ว พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมเป็นโลกบาล คือคุ้มครองโลกไว้ ๒ ข้อ คือ หิริ ความละอายใจ ที่จะทำชั่ว โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อความชั่ว เพราะเหตุนี้จึงไม่กล่าวให้ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ทำหน้าที่คุ้มครองโลกโดยตรง จะไม่กล่าวถึงเลยก็จะขัดขวางต่อความเชื่อของคนทั้งหลายจนเกินไป จึงกล่าวเปลี่ยนไปให้มีหน้าที่เที่ยวตรวจดูโลกมนุษย์ ว่าได้พากันทำดีมากน้อยอย่างไร แล้วก็นำไปรายงานพวกเทพชั้นดาวดึงส์

         สวรรค์ชั้นที่ 1 : จาตุมหาราชิก


เกิดบนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา มีจากหลายสาเหตุ คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ทำบุญไม่ค่อยเป็นไม่รู้หลักการทำบุญ และไม่ค่อยได้สั่งสมบุญ นานๆทำครั้งหนึ่ง เมื่อทำก็ทำน้อย หรือทำบุญเอาคุณ บุญที่ได้ก็ไม่บริสุทธิ์ ไม่สมบูรณ์ บาปในตัวก็มีอยู่ แต่ว่าบุญมากกว่า เมื่อละโลกใจนึกถึงบุญก่อนก็ไปสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่ ณ เชิงเขาสิเนรุ




สวรรค์ชั้นนี้จะมีความหลากหลายมากที่สุด เพราะอยู่ใกล้ชิดกับพื้นมนุษย์มากกว่าสวรรค์ชั้นอื่นๆ และมีบางส่วนที่มีที่อยู่ซ้อนกับภูมิมนุษย์ ที่ได้ชื่อ สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา เพราะมีเทพผู้เป็นใหญ่ครองสวรรค์ชั้นนี้อยู่ 4ท่าน คือ


ท้าวธตรฐ ปกครองเทวดา 3พวก ได้แก่ คนธรรพ์ วิทยาธร กุมภัณฑ์

ท้าววิรุฬหก ปกครองพวกครุฑ

ท้าววิรูปักษ์ ปกครองพวกนาค

ท้าวเวสสุวรรณ ปกครองพวกยักษ์
       

           สวรรค์ชั้นที่ 2 : ดาวดึงส์

เกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ทำบุญเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งดีงาม เป็นสิ่งที่ควรทำกระทำแล้วก็สั่งสมบุญ สั่งสมเทวธรรม มีหิริโอตตัปปะด้วย เมื่อละโลกก็จะไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่ที่หน้าตัดของเขาสิเนรุ ที่ชื่อว่า ดาวดึงส์ เพราะเป็นที่อยู่ของเทพผู้ปกครองภพถึง 33องค์ โดยมี ท้าวสักกเทวราช หรือ พระอินทร์ เป็นประธาน และที่สำคัญมี พระธาตุจุฬามณี ซึ่งทุกวันพระเทวดาจะมาประชุมกันที่สุธรรมาเทวสภา เพื่อรับฟังโอวาทจากท้าวสักกะ


           สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เป็นสวรรค์ชั้นที่สองชื่อว่าตาวติงสภวนะ แปลว่า ภพดาวดึงส์ เรียกกันว่า สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตั้งอยู่บนพื้นเบื้องบนของเขาสิเนรุ ซึ่งอยู่กลางภูเขาบริภัณฑ์ทั้ง ๗ เป็นแกนกลางของโลกดั่งกล่าวมาแล้ว นครดาวดึงส์นี้ท่านกล่าวในคัมภีร์ว่าตั้งอยู่ในที่หมื่นโยชน์(น่าจะนับผ่าศูนย์กลาง) เพราะมีกล่าวว่า ระหว่างทวารของปราการ (ประตูกำแพงเมือง) อันเป็นทวารกลางทั้ง ๔ ด้าน นับได้ด้านละหมื่นโยชน์ เป็นนครคีรีที่มีปราการโดยรอบเหมือนอย่างเมืองโบราณทั้งปวง มีทวารทั้งหมดพันทวาร ประดับไปด้วยสวนและสระโบกขรณีทั้งหลาย


          ท่ามกลางนครมีประสาทชื่อ เวชยันต์ เป็นที่ประทับของท้าว สักกเทวราช ผู้เป็นจอมเทพ ที่ไทยเราเรียกกันว่า พระอินทร์ เวชยันต์ปราสาทนี้แพรวพราวไปด้วย รัตนะทั้ง ๗ (ได้แก่ ทอง เงิน มุกดา มณี ไพฑูรย์ วชิระ (เพชร) ประพาฬ บางแห่งบอกว่าคือ มณี ไพฑูรย์ ประพาฬ มุกดา วชิระ แก้วผลึก แก้วหุง) ประดับไปด้วยธงรัตนะต่าง ๆ คือ ธงแก้วมณีมีคันเป็นทอง ธงแก้วมุกดามีคันเป็นแก้วประพาฬ ธงแก้วประพาฬมีคันเป็นแก้วมุกดา ธงรัตนะทั้ง ๗ มีคันเป็นรัตนะทั้ง ๗ มีต้น ปาริฉัตตกะ สูงใหญ่ ภายใต้ต้นไม้นี้มีแท่นศิลาชื่อว่า ปัณฑุกัมพล (เหมือนผ้าขนสัตว์สีเหลือง) มีสีเหมือนดอกชัยพฤกษ์สีครั่งและสีบัวโรย เป็นพระแท่นที่ประทับของพระอินทร์ ในเวลาประทับนั่งอ่อนยวบลงไปกึ่งกาย ในเวลาลุกขึ้นก็กลับเต็มขึ้นมาเหมือนเตียงสปริง มีช้างชื่อ เอราวัณ เป็นพาหนะสำหรับทรง แต่ท่านว่าในเทวโลกไม่มีสัตว์ดิรัจฉาน ฉะนั้นช้างนี้จึงเป็นเทวบุตรชื่อว่าเอราวัณ มีหน้าที่คอยเนรมิตตนเป็นช้างสำหรับทรงของพระอินทร์ ในเวลาที่มีพระประสงค์จะเสด็จออกเพื่ออุทยานกีฬา พรรณนาถึงช้างเทวบุตรนี้ว่า มีตะพอง ๓๓ ตะพอง สำหรับเทวบุตร ๓๓ พระองค์ รวมทั้งพระอินทร์ซึ่งเป็นสหายบำเพ็ญกุศลร่วมกันมาในสมัยเป็นมนุษย์ ตะพองกลางชื่อว่า สุทัสสนะ เป็นที่ประทับของพระอินทร์ มีมณฑปรัตนะ (จะตรงกับคำว่ากูบกระมัง) มีธงรัตนะในระหว่าง ๆ ปลายสุดห้อยข่ายพรวนกระดึงหรือกระดิ่ง เมื่อต้องลมอ่อน ๆ โชยพัด ก็ดังปานเสียงทิพย์สังคีตอันเสนาะประสานกับเสียงดนตรีมีองค์ ๕ กลางมณฑปมีบัลลังก์มณีเป็นที่ประทับของพระอินทร์ ตะพองบริวารนอกนี้เป็นที่ประทับของเทพบุตรทั้งหลายผู้บำเพ็ญกุศลร่วมกันมาแต่ปางบรรพ์ ตะพองทั้ง ๓๓ นั้น แต่ละตะพองมี ๗ งา มีคำพรรณนาถึงสิ่งที่มีอยู่ในงาแต่ละงายิ่งวิจิตรพิสดาร ว่า มีสระโบกขรณีแห่งปมุทชาติชูสล้างไปด้วยดอกและใบ ซึ่งแต่ละใบเป็นลานฟ้อนรำของเทพธิดา ท่านนับรักษาจำนวนอย่างละ ๗ ๆ อย่างเคร่งครัด นายช่างแกะสลักงาผู้สามารถก็น่าจะแกะสลักงาให้เหมือนอย่าที่พรรณนาไว้ได้โดยยาก ช้างเอราวัณ ๓๓ ตะพอง น่าจะเขียนภาพได้ยากและดูรุงรังไม่งดงาม จึงมักเขียนย่อลงมาเป็นช้าง ๓ เศียร เศียรละ ๒ งา ซึ่งดูงดงามและเป็นสัญลักษณ์พิเศษว่าเป็นช้างทรงของพระอินทร์ โดยเฉพาะเห็นภาพก็รู้กันได้โดยทั่วไป นอกจากนี้ยังมีรถชื่อ เวชยันต์ เทียมม้าอาชาไนยที่แอกข้างละพันม้า มีบัลลังก์ที่ประทับปักเศวตฉัตรกางกั้นพร้อมทั้งธงติดประดับอยู่ตามที่ (ม้าอาชาไนยนั้น แม้ไม่ได้กล่าวว่าเทพบุตรจำแลง แต่เมื่อวางกฎเกณฑ์ลงไปว่า ในเทวโลกไม่มีสัตว์ดิรัจฉาน และเมื่อต้องการจะให้มีม้าจำแลง แต่เมื่อต้องการจะให้มีม้าเทียมรถ ก็ต้องกล่าวว่าเป็นเทวบุตรจำแลงเช่นเดียวกัน และในคัมภีร์รุ่นเก่ากล่าวว่าเทียมม้าหนึ่งพัน ส่วนในคัมภีร์รุ่นหลังขยายออกว่าเทียมแอกข้างละพัน จึงรวมเป็นสองพัน) นครไตรตรึงษ์ (เรียกในไตรภูมิพระร่วง) นี้


เบื้องบูรพทิศมีอุทยานชื่อว่านันทนวัน และ จุลนันทนวัน มีสระโปกขรณีชื่อ นันทา และ จุลนันทา แทบฝั่งสระโปกขรณีนั้นมีแผ่นหินดาดชื่อว่า นันทา และ จุลนันทา


เบื้องทักษิณทิศ มีอุทยานชื่อ ปรารุสกวัน มี ภัทราไปกขรณี(สุภัทราโปกขรณี) มีแผ่นหินดาดชื่อว่า ภัทรา (และสุภัทรา)


เบื้องปัจฉิมทิศ มีอุทยานชื่อ จิตรลดาวัน(จุลจิตรลดาวัน) มีสระจิตราโปกขรณี (จูลจิตราโปกขรณี) มีหินดาดจิตรา (จุลจิตรา)


เบื้องอุตรทิศ มีอุทยานชื่อ มิสสกวัน สระธัมมโปกขรณี (สระสุธัมมาโปกขรณี) มีแผ่นหินดาด ธัมมา (สุธัมมา)


เบื้องอีสานทิศ มีอุทยานชื่อ มหาวัน และ ปุณฑริกวัน ในปุณฑิรวโนทยานนั้นมีต้นปาริฉัตตกะ ซึ่งภายใต้มีแทนปัณฑุกัมพลศิลาดั่งกล่าวแล้ว ถัดต้นปาริฉัตตกะนั้นออกไป มีศาลาใหญ่ชื่อ สุธัมมา เป็น เทวสภา ที่ประชุมสภาเทวดา


ทิศอาคเนย์ มีพระเจดีย์ทองชื่อ จุฬามณี งามรุ่งเรื่องด้วยแก้วอินทนิล กลางองค์เป็นทองจนถึงยอด ประดับด้วยแก้ว ๗ ประการ มีกำแพงประดับด้วยธงล้อมรอบวนะ (ป่า) หรืออุทยาน(สวน) พระอินทร์นครดาวดึงส์ มี ๔ คือ นันทนวัน มิสสกวัน จิตตลดาวัน(หรือจิตรลดาวัน) ผารุสกวัน แต่ในที่อื่นเรียก ปารุสกวัน(ผารุสกวัน) มหาวัน และ ปุณฑริกวัน


ในทิศอาคเนย์ มีต้นไม้ที่ใหญ่ มีอายุยืนยาวตลอดกัปกัลป์ ตามคติโบราณว่ามีอยู่ ๗ ต้น คือ


๑. ชมพู (ไม้หว้า) ประจำชมพูทวีป


๒. สีมพลี (ไม้งิ้ว) ของพวกครุฑ


๓. กะทัมพะ (ไม้กะทุ่ม) ประจำอมรโคยานทวีป


๔. กัปปรุกขะ (กัลปพฤหษ์) ประจำอุตรกุรุทวีป


๕. สิรีสะ (ไม้ทรึก)ประจำปุพพวิเทหะทวีป


๖. ปาติฉัตตกะ หรือ ปาริชาตก์ (ไม้ปราชาตก์ทิพย์) ประจำภพดาวดึงส์


๗. จิตรปาฏลี (ไม้แคฝอยทิพย์) ประจำภพอสูร ซึ่งเป็นบุพพเทพของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์.


        บุพพกรรมของพระอินทร์ พระอินทร์ซึ่งพระราชาของเทพชั้นดาวดึงส์ มีประวัติเล่าไว้ในอรรถกถาทั้งหลายว่า ก่อนแต่ไปเกิดเป็นเทวราช ได้เกิดเป็นมนุษย์ในหมู่บ้าน มจลคาม ในมคธรัฐ เป็นบุตรของสกุลใหญ่ ได้นามในวันขนานนามว่า มฆกุมาร แต่เรียกกันเมื่อเติบโตขึ้นว่า มฆมานพ มีภริยาและบุตรธิดาหลายคน มฆมาณพให้ทาน รักษาศีลอยู่เป็นนิตย์


         สวรรค์ชั้นที่ 3 : ยามา

เกิดบนสวรรค์ชั้นยามา คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ทำบุญเพราะอยากจะสืบทอด และรักษาประเพณีแห่งความดีงามนั้นไว้ ทำนองว่าวงศ์ตระกูลสร้างสมความดีมาอย่างไร ก็อยากจะรักษาประเพณีไว้ หรือผู้หลักผู้ใหญ่สอนอย่างไร บรรพบุรุษทำมาอย่างไรก็ทำอย่างนั้น ทำกันไปตามธรรมเนียม เช่น เห็นปู่ย่าสร้างโบสถ์ บำรุงวัด สร้างพระประธาน ก็ทำตามนั้นด้วย หรือพระภิกษุที่รักษาพระพุทธศาสนาเอาไว้ ตามธรรมเนียมปฏิบัติ ที่พระต้องมีหน้าที่รักษาพระพุทธศาสนา เมื่อละโลกแล้ว ส่วนใหญ่จะไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่สูงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ขึ้นไป




        อยู่สูงขึ้นไปจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ สูงกว่าวิถีโคจรของดวงอาทิตย์ แดดส่องไปไม่ถึง แต่รุ่งเรืองด้วยรัศมีแก้วและรัศมีเทวดาส่องสว่างอยู่เสมอ ไม่มียามมืดค่ำ สังเกตที่ดอกไม้ทิพย์ บานเมื่อไรแสดงว่ารุ่ง หุบเมื่อใดคือค่ำ เป็นสวรรค์ที่มีแต่เวลาหรือยามดีตลอดไป มีปราสาทแก้วปราสาทเงินเป็นวิมาน มีสวนแก้วสระโบกขรณีงดงาม องค์ประธานของสวรรค์ชั้นนี้ชื่อ “พระสยามเทวราช”


         สวรรค์ชั้นที่ 4 : ดุสิต

เกิดบนสวรรค์ชั้นดุสิต หรือในโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยาเรียกกันว่า ดุสิตบุรี คือ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ ทำบุญเพื่อปรารถนาสงเคราะห์โลก ปรารถนาให้ชาวโลกมีความสุข มีความคิดที่ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่เพื่อตนเองอย่างเดียว แต่เพื่อสงเคราะห์โลก เพื่อนมนุษย์ และสรรพสัตว์ทั้งหลายด้วย เมื่อละโลกแล้วก็จะไปสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่สูงถัดจากสวรรค์ชั้นยามาขึ้นไป



        “ดุสิต” แปลว่า “บันเทิง” อยู่สูงขึ้นไปจากสวรรค์ชั้นยามา ๑๖๘,๐๐๐ โยชน์ มีปราสาทแก้วปราสาทเงินปราสาททองเป็นวิมาน มีกำแพงแก้วล้อมรอบ องค์ประธานชื่อ “พระสันดุสิตเทวราช” พระโพธิสัตว์ซึ่งจะเสด็จลงมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าสถิตในสวรรค์ชั้นนี้ มีพระศรีอาริยเมตไตรซึ่งจะมาตรัสรู้ในภัทรกัป เป็นต้น


        สวรรค์ชั้นที่ 5 : นิมมานนรดี

เกิดบนสวรรค์ชั้นนิมมานรดี คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ เห็นผู้อื่นทำบุญแล้วได้รับการยกย่องส่งเสริม จึงอยากจะทำบุญนั้นบ้าง อยากจะเป็นอย่างนั้นบ้าง เมื่อละโลกแล้วจะไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่สูงจากสวรรค์ชั้นดุสิตขึ้นไป





        “นิมมานนรดี” แปลว่า “เทวดาผู้ยินดีในการเนรมิต” อยู่สูงขึ้นไปจากสวรรค์ชั้นดุสิต ๓๓๖,๐๐๐ โยชน์ เทวดาในสวรรค็ชั้นนี้นึกอะไรก็เนรมิตได้โดยไม่ต้องให้ใครมาสังเวยเหมือนเทวดาชั้นต่ำลงไป มีปราสาทแก้วเงินทองเป็นวิมาน มีกำแพงแก้วล้อมรอบ มีแผ่นดินทองราบเสมอกัน มีสระน้ำสวนแก้วงามกว่าสวรรค์ชั้นดุสิต


         สวรรค์ชั้นที่ 6 : ปรนิมมิตวสวัตตี

เกิดบนสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ทำบุญด้วยความเลื่อมใส เคารพในทาน ทำแล้วมีความรู้สึกปลื้มใจ ในบุญที่ทำนั้น เมื่อละโลกแล้วจะบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่สูงจากสวรรค์ชั้นนิมมานรดีขึ้นไป





         “ปรนิมมิตวสวัตตี” แปลว่า “เทวผู้มีอิสระควบคุมการเนรมิตของผู้อื่น” คือจะเนรมิตเองก็ได้ ให้ผู้อื่นเนรมิตแทนก็ได้ มีแดนถึงกำแพงจักรวาลทุกชั้นฟ้า มีองค์ประธาน ๒ องค์ คือ


๑. พญาปรนิมมิตวสวัตตีเทวราช เป็นพญาแห่งเทพยดาทั้งหลาย


๒. พญามาราธิราช เป็นพญาแห่งหมู่มารทั้ง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น